วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ภัยคุกคามสุขภาพตัวฉกาจ

น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ภัยคุกคามสุขภาพตัวฉกาจ 
ข้อเท็จจริงเรื่อง น้ำมันมะพร้าวที่คนเอเซียโดนฝรั่งหลอก 
(มันหลอกโดยล้างสมองแพทย์สมัยใหม่ให้มาพูดต่อ มันได้ขายขนมกรุบกรอบ และสุดท้ายมันได้ขายยา)

ข้าพเจ้าอยากเตือนคนไทยทั้งหลาย โปรดสำรวจตนเองว่าท่านกินน้ำมันวันละกี่ซีซี มันระบายออกมาได้มากน้อยแค่ไหน 
ถ้าท่านไม่หยุดกิน โรคไต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคความดันเลือดสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ จะมาเยือนท่านไม่ช้าก็เร็ว

นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ ก.ค.๒๕๔๖ ลงบทความ "น้ำมันพืช ใช้อย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย" แนะนำว่า 
การผัดอาหารควรใช้ น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว 
แต่หากจะทอดอาหารแล้วควรใช้ น้ำมันพืช หรือสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะการทอดใช้ความร้อนสูง และจุดเดือดน้ำมันพืชประมาณ ๑๘๐ ํC จะเกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่า โพลาร์คอมเพาวด์ (Polar Compound) สารเคมีชนิดนี้ ข้าพเจ้าเคยพบด้วยกลิ่นที่ ทำให้แสบจมูก มีพ่อค้าทอดขนมกุ๋ยไช่คนหนึ่ง มีอาการตาพร่ามัว จึงไปพบจักษุแพทย์ และได้รับคำแนะนำให้เลิกอาชีพขาย อาหารทอด อาหารผัดอย่างถาวร มิฉะนั้นจะตาบอดได้

ทำไมน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าว จึงเหมาะแก่การทอด? 
คำตอบก็คือ น้ำมันทั้งสองชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู ๔๐% น้ำมันมะพร้าว ๘๘%) 
มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่จับกับธาตุคาร์บอน (C) ในลักษณะแขนเดี่ยว (single bond) เมื่อโดนความร้อนสูงก็ทำให้อาหารกรอบ อร่อย ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ 
และน้ำมันที่ใช้ทอดแล้วก็เก็บไว้ทอดซ้ำไม่ได้เพราะจะดำและเหม็นหืน ซึ่งผิดกับน้ำมันพืชอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีโครงสร้างเคมีเป็น แขนคู่ (double bond) 
ในการจับกับธาตุคาร์บอน จึงสามารถจับกับธาตุไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก ๒ อะตอม จึงเหมาะกับการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) ซึ่งเรียกว่า Trans Fatty Acid (TFA)

"Trans" นี้เป็นผลลัพท์ของความพยายามที่จะทำให้น้ำมันพืช มีลักษณะเหมือน น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ที่ทำให้อาหารทอด กรอบอร่อย แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม เพราะน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีเหล่านี้ไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้ง่ายๆ เหมือนน้ำมันมะพร้าวที่ละลายน้ำได้ บางคนที่เป็นปู่ย่าตายายในขณะนี้ (อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป) จะบอกกล่าวว่า พ่อแม่ของท่านใช้น้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าวทำอาหาร และท่านก็มีอายุถึง ๙๐ ปีกว่าก่อนเสียชีวิต ไม่ได้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเลย แต่ก็มีอายุยืนยาวได้ 

ในทางกลับกัน คนไทยในสมัยนี้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมานานกว่า ๓๐ ปี กลายเป็นโรคเบาหวานกันทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน เด็กๆ ก็กลายเป็นโรคอ้วน เบาหวานในเด็กก็ลุกลามใหญ่โต จนในปีนี้องค์การเบาหวานโลก ได้เน้นการรณรงค์ เบาหวานในวัยรุ่น ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นในโลกไม่น้อยกว่า ๕ ล้านคน

สารเคมีที่กินเข้าไปคือ polar compound ยังไม่มีใครประกาศออกมาเลยว่ามีผลร้ายอย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือ มันหนืดเมื่อโดนความร้อนสูง และติดหนึบหนับในลำไส้เล็กของเรา จนทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารที่ละลายน้ำ เช่น กรดอมิโน วิตามินบี ซี หายไปมาก เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยากต่อการสังเกตเห็นบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเชียร์แต่น้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอง น้ำมันปาล์มก็มีระดับกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึง ๔๘% ไม่เหมาะกับการทอดหรืออย่างไร?

จริงๆ แล้วก็เหมาะสมแต่น้ำมันปาล์มที่ขายอยู่นั้นผ่านกรรมวิธี จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ
- ฟอก สี (bleached) เพื่อให้สีดูสวย สดใส
- แต่งกลิ่น (deodorized) เพื่อให้ไม่มีกลิ่นหื มีกลิ่นตามที่ต้องการ
- ใส่ ไฮโดรเจน (hydrogenated) เพื่อให้ทอดอาหารได้กรอบขึ้น และเก็บได้นานโดยไม่มีกลิ่นหืน



จึงมี polar compound เมื่อทอดน้ำมันพืชที่ได้จากการสกัดแบบธรรมชาติ คือ หีบเย็น (Cold press) หรือ การบีบคั้น
โดยไม่ใช้ความร้อนส่วนใหญ่แล้วดี มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่เมื่อเอาไปดัดแปลงทางเคมี เติมไฮโดรเจนเข้าไปก็เลย
เป็นโทษ น้ำมันพืชที่หีบเย็นถ้านำมากินโดยไม่ผ่านการผัด การทอดก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สปาหลายแห่ง
จึงนำไปใช้เสริมสวย บำรุงผิวให้ลูกค้า



นิตยสาร"เกษตรกรรมธรรมชาติ" ฉบับ ๒/๒๕๔๘ บทความพิเศษ "น้ำมันมะพร้าว และกะทิเป็นอันตรายหรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ "โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวไว้ว่า 
"น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันพืชที่ประเทศต่างๆ ในเอเซียและแปซิฟิคใช้เป็นแหล่งพลังงานและการหุงหาอาหารมาช้านาน โดยไม่ปรากฎอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ๒๕๒๑ ประเทศศรีลังกาเป็นเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าวมากที่สุดประเทศหนึ่ง มีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพียง 
๑/๑๐๐,๐๐๐ เปรียบเทียบกับ ๑๘๗/๑๐๐,๐๐๐ ในประเทศที่ไม่ได้ใช้น้ำมันมะพร้าว"

ดร.ณรงค์ยังกล่าวด้วยว่า "น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เนื้อมะพร้าวกับน้ำมะพร้าวลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ 
น้ำมันมะพร้าวเพิ่มปริมาณของ High density lipoprotein (HDL) ได้มากกว่าน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะพร้าวไม่เพิ่มอัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของไตรกลีเซอไรด์"